วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

" ภัยร้าย !!! จาก....ยาชุดและยาลูกกลอน"

   "ยาชุด" เป็นยาที่ผู้ขายจัดไว้เป็นชุด มียาหลายๆ ชนิดรวมกันใน 1 ซอง เช่น ยาชุดแก้ปวดเมื่อย มักมีตัวยาซ้ำซ้อน ทำให้ได้รับยาเกินความจำเป็น และขนาดสูงเกินไปจนอาจทำให้เกิดพิษของยา และอาจมียาเสื่อมคุณภาพ ยาปลอมผสมอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้



   " ยาลูกกลอน" เป็นการนำสมุนไพรมาบดให้เป็นผงละเอียด มักใช้น้ำผึ้งเป็นน้ำกระสาย ปั้นเป็นเม็ดกลมๆ    และที่สำคัญทั้งยาชุดและยาลูกกลอน มักจะมียาเสตียรอยด์ผสมอยู่ซึ่งก่อให้เกิดอันตราย เช่น กระดูกพรุน กระเพาะทะลุ หน้ากลม เป็นสิว เป็นเบาหวาน ไตวาย และเสียชีวิตในที่สุด


     ดังนั้น ควรเลือกซื้อยาที่ขึ้นทะเบียนกับอย. มีเลขทะเบียนตำรับรา ไม่หลงเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดรักษาสารพัดโรค ซื้อยาจากร้านยาที่ขายโดยเภสัชกร
     หากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาหรือสมุนไพรที่ใช้อยู่ สามารถนำมาทดสอบหาเสตียรอยด์ได้ ที่กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภครพ.หนองม่วงไข่ค่ะ

“ยาเลื่อนประจำเดือน” กินอย่างไรให้ได้ผล ปลอดภัย

     ยาเลื่อนประจำเดือนที่ใช้กันในปัจจุบัน มีชื่อการค้าที่คุ้นเคย คือ Primolut-n®(พรีโมลุทเอ็น) steron® ( สเตอรอน),sunolut® (ซูโนลุท) ซึ่งเป็นฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน มีตัวยาสำคัญ คือ นอร์-เอ-ทีส-เตอ-โรน (Norethisterone) ขนาด 5 มิลลิกรัม ออกฤทธิ์ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน 


     มีวิธีการทานที่ถูกต้องตามน้ำหนักตัว คือ 
  ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง (น้ำหนักต่ำกว่า 60 kg ) 
  ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (น้ำหนักตัว มากกว่า 60 kg ) 
ควรเริ่มทานอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่คาดว่าจะมีประจำเดือน 
เมื่อหยุดยาแล้ว 2-3 วัน ประจำเดือนจะมาตามปกติ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 14 วัน เพราะจะทำให้รอบเดือนมาผิดปกติ เลือดออกกระปิดกระปรอย เจ็บคัดเต้านม ซึมเศร้า ปวดศีรษะได้ 
    มีข้อห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน เคยเป็นหรือกำลังเป็นโรคตับขั้นรุนแรง เคยเป็นหรือกำลังเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งที่อวัยวะเพศ ชนิดที่ไวต่อฮอร์โมน

“ชุดตรวจสอบสเตียรอยด์”



******สัปดาห์นี้!!!!!! ห้องยา รพ หนองม่วงไข่******** 

      ได้จัดกิจกรรมตรวจสอบตัวอย่างยาลูกกลอน 3 ตัวอย่าง และได้แจ้งผลกลับไปยังผู้ที่นำมาตรวจ เพื่อหลีกเหลี่ยงอันตรายจากสเตียรอยด์ที่ปนปลอมในผลิตภัณฑ์สมุนไพร คับ

     ดังนั้น หากจะใช้ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร จึงควรดูเครื่องหมาย ฉลาก ทะเบียนยา ก่อนเลือกซื้อยาดังกล่าว หากไม่มีเครื่องหมาย ทะเบียนยา แปลว่า ไม่ได้รับการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานของรัฐ ครับ

     หากท่านต้องการใช้ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาพระ เหล่านั้น แต่ไม่แน่ใจว่ามียาสเตียรอยด์ปนปลอมมาหรือไม่ สามารถนำตัวอย่างยาที่สงสัยมา แจ้งได้ที่ "กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค รพ. หนองม่วงไข่" ได้ในเวลาทำการคับ

     ซึ่งสามารถตรวจสอบการปนปลอมยาสเตียรอยด์ได้อย่างง่าย ๆ โดยใช้ “ชุดตรวจสอบสเตียรอยด์” ผลิตและจำหน่ายโดย ศูนย์ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นวิธีการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

“ร้อนนี้หลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงแดดอย่างไรดี”

     แน่นอนว่าการอยู่ในโลกที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ทำให้เราไม่สามารถหลบเลี่ยงการถูกแสงแดดได้ ดังนั้น จึงต้องหาวิธีเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงแดด โดย

-   หลีกเลี่ยงการตากแดดในช่วงเวลาที่มีรังสีอัลตราไวโอเลตมากๆ คือเวลาประมาณ 10.00 - 15.00น. 
-   ทาครีมกันแดดเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพราะแม้จะอยู่ใต้ต้นไม้หรือชายคาบ้านก็ยังมีโอกาสได้รับรังสี UV เหมือนกับเวลาที่อยู่กลางแดด เพราะพื้นคอนกรีต พื้นน้ำ สามารถสะท้อนรังสี UV เข้าสู่ผิวกายได้



     แต่เดี๋ยวก่อน นอกจากการใช้ครีมกันแดดเป็นพื้นฐานแล้ว การป้องกันผิวด้วยวิธีการต่อไปนี้จะช่วยให้ผิวของเราปลอดภัยจากภัยร้ายของแสงแดดได้ คือ
1.สวมหมวกสักใบ ศาสตราจารย์แห่งคลินิกโรคผิวหนังที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่า การสวมหมวกช่วยป้องกันรังสี UV ภัยจากแสงแดดและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึง 10 %
2.สวมแว่นกันแดด ช่วยป้องกันดวงตาจากภัยของแสงแดด เพราะดวงตาถือว่ามีความบอบบางมากที่สุด ไม่มีวิธีการป้องกันใดดีเท่ากับการสวมแว่นกันแดดอีกแล้ว
3.ใช้ลิปสติกที่มีสาร SPF สูง ในการป้องกันริมฝีปากจากแสงแดด ควรทาทุกครั้งที่ออกจากบ้านและทุก ๆ 2 ชั่วโมงที่จำเป็นต้องออกแดด
4.รับประทานผักและผลไม้ที่มีไลโคปีนสูง ได้แก่ มะเขือเทศ แตงโม มะละกอ มะม่วงสุก แครอท และผักผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้มและแดงทุกชนิด รับประทานต่อเนื่อง 3 เดือนขึ้นไป จะเห็นผลในการช่วยป้องกันผิวจากแสงแดดได้
.


.
.
ที่มา
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
http://www.oryor.com/…/print-…/2013-08-02-07-58-36/item/7799
- N2N Health Tip
http://www.n2n-inter.com/health_detail.php?id=106

"ครีมกันแดด..สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทา??"

     แสงแดด แม้จะมีประโยชน์ผิวมากมาย แต่การได้รับแสงแดดเป็นเวลานานมากเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายแก่ผิวได้เช่นกัน ซึ่งผลในระยะสั้น อาจเกิดเพียงแค่ ผื่นแดง แต่ผลในระยะยาว หากได้รับเป็นเวลานาน และบ่อยครั้ง อาจทำให้ผิวหนังไหม้เกรียมได้การใช้ครีมกันแดด จึงเป็นวิธีการป้องกันหรือลดอันตรายจากแสงแดดได้ แต่การเลือกใช้ครีมกันแดดค่า SPF สูงๆ นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า จะปกป้องแสงแดดได้ดีไปกว่า ค่า SPF ที่ต่ำกว่า 

    


     แล้ว SPF คืออะไร...ค่า SPF หรือ Sun Protection Factor เป็นตัวระบุระดับการปกป้องผิวจากรังสี UVB หรือ คือจำนวนเท่าของเวลาที่ผิวทนต่อรังสีอัลตราไวโอเลตนี้ได้หลังจากทาครีมกันแดดแล้ว ซึ่งโดยปกติผิวของเราจะรับมือกับแสงแดดโดยปราศจากครีมกันแดดได้ประมาณ 20-30 นาที เช่น SPF30 หมายถึง เราสามารถอยู่กลางแดดได้ประมาณ 30×30 = 900 นาที หรือ 15 ชั่วโมง โดยที่ผิวไม่ไหม้แดง แต่การคำนวณอาจคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากครีมกันแดดที่ทาบนผิวอาจลบเลือนไปเมื่อเหงื่อออก โดนน้ำ หรือทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน จึงควรทาครีมกันแดดซ้ำในทุก 2 ชม.

     วิธีเลือกใช้ครีมกันแดด….


     สำหรับคนเอเชีย เช่น คนไทย ซึ่งไม่นิยมผิวคล้ำ และการอาบแดด แต่ต้องทำงาน หรือเล่นกีฬากลางแจ้ง การท่องเที่ยวทางน้ำ มีความจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดด ควรเลือกดังนี้

1. เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงกว่า 15
2. มีสารเคมีที่กัน UVA ได้ดีอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น Oxybenzone + TiO2 หรือ Parsol 1789 + ZnO เป็นต้น
3. กันน้ำได้ ( water resistance, หรือ water proof)
4. มีการทดลองว่า ไม่สลายจากแสง (photo stable)



วิธีทาครีมกันแดด…
1.ควรใช้ครีมปริมาณ 1 ช้อนชา ในการทาหน้า และ ลำคอ แบ่งทา 2 รอบ หากต้องการประสิทธิภาพในการป้องกันแดดที่ดี
2.ควรทาครีมกันแดด ก่อนออกแดด 15 นาที
3.ควรทายากันแดดให้หนากว่าครีมทั่วไปเล็กน้อย
4. หลังจากทาครั้งแรก หรือทุก 1-2 ชม. ถ้าว่ายน้ำ หรืออยู่กลางแดดจัด เนื่องจากการทายากันแดดซ้ำ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกันแดด ได้อีก 2-3 เท่า
.
.
ที่มา.. ^0^
http://creamnhasai.com/ครีมกันแดดทาหน้า/
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/spf/
http://guru.sanook.com/4063/

"โรคเมอร์ส"(MERS) เป็นโรคระบาดอันตรายพบใหม่






       "โรคเมอร์ส"(MERS) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชนิด corona virus 


มาตรการป้องกันที่สำคัญ คือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ผู้ที่มีโรคประจำตัวให้งดการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด คือ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน โอมาน สหรัสอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ การ์ตา และจีน หากเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด ควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย และหากกลับประเทศไทยภายใน 14 วัน แล้วมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์ที่รพ. ทันที

“ กลูตาไธโอน...ทำให้ผิวขาวได้จริงหรือ??? ”

     เรามักพบกลูตาไธโอนในท้องตลาดจำนวนมาก ในรูปแบบของอาหารเสริมหรือรูปแบบยาฉีดในกิจการเสริมความงามต่าง ๆ 

   
    กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่แล้วร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลาย ชะลอความเสื่อมของเซลล์ เพิ่มความสามารถในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย และมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในการรักษาโรค แต่ไม่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาฝ้าและการทำให้ผิวขาวเปล่งปลั่ง เพราะเมื่อทานเข้าไปสารนี้จะถูกย่อยสลายและกำจัดออกร่างกาย ไม่ถูกดูดซึม

     
และพึงระลึกไว้เสมอว่า กลูตาไธโอนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุกรรมของเซลล์สร้างเม็ดสีได้ หากฉีดต้องฉีดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ เมื่อหยุดฉีดยาเซลล์สร้างเม็ดสีก็กลับไปสร้างเม็ดสีดำตามปกติเหมือนเดิม และหากร่างกายได้รับยาสะสมมากเกินไป ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ อีกทั้งทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำมีโอกาสแพ้อย่างรวดเร็วและรุนแรงได้

     ผลข้างเคียงจากการฉีดกลูตาไธโอน ได้แก่ ผิวหนังแดง ความดันโลหิตต่ำ หอบหืดเฉียบพลัน อาจเกิดอาการแพ้ anaphylactic reaction จนถึงแก่ชีวิต ซึ่งได้จากการปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์ของสาร และการฉีดร่วมกับวิตามินซีในขนาดที่สูงและเร็วเกินไป อาจทำให้มึนศีรษะคล้ายจะเป็นลมได้



ที่มา....กลูตาไธโอน. อริน วิกุล. กลุ่มงานด้านบริการงานวิจัย .วารสาร เพือการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม. ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน 2558

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

"ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ"

   


     หลายคนมักเข้าใจผิดและเรียกสับสน ว่ายาปฏิชีวนะเป็นยาแก้อักเสบ เพราะเมื่อติดเชื้อแบคมีเรียแล้วกินยาปฏิชีวนะ ยาจะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของต่อมทอลซิลอักเสบเป็นหนอง เมื่อเชื้อตายไปอาการคออักเสบ(เจ็บคอ คอแดง เป็นหนอง) จะลดลงเองโดยอัตโนมัติ คนจึงมักเรียกผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ


      "ยาแก้อักเสบ" (ยาต้านการอักเสบ Anti-inflamatory drugs) เป็นยาที่มีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้ ลดบวมอักเสบ โดยไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค แอสไพริน 

ส่วน "ยาปฏิชีวนะ"(Antibiotics) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์แก้อักเสบโดยตรง เช่น เพนนิซิลลิน อะม๊อกซีซิลลิน

"เจ็บคอ...แบบไหน ควรใช้ยาปฏิชีวนะ"

    


      อาการไข้ต่ำๆ ตั้งแต่ 37.6 เรื่อยไปจนถึง ไข้สูง 40 องศาเซลเซียส เจ็บคอ คอแดง ต่อมทอนซิลบวมแดง อาจมีอาการไอ เสียงแหบและมีน้ำมูกร่วมด้วย ส่วนใหญ่เกิดจาก"เชื้อไวรัส" ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะก็หายได้ โดยภูมิต้านทานของร่างกาย การพักผ่อนและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือจะช่วยให้หายเร็วขึ้นค่ะ


     ส่วนอาการที่เกิดจากการติด"เชื้อแบคทีเรีย"(พบไม่เกินร้อยละ15) คือ ไข้สูงปานกลาง 38.3-39.0 องศาเซลเซียส เจ็บคอมาก คอแดงจัด ลิ้นไก่บวมแดง ทอนซิลบวมแดงมีจุดหนอง ลิ้นเป็นฝ้าขาว อาจคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณลำคอด้านนอกและกดเจ็บ โดยแทบจะไม่มีอาการของหวัด (น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ มีเสียงแหบ) ควรใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะช่วยให้โรคหายเร็วขึ้นและป้องกันโรคแทรกซ้อนได้
     การรักษาตนเองโดยไม่ได้รับการตรวจร่างกาย ย่อมไม่สามารถแยกได้ระหว่างการติดเชื้อแบคทีเรียกับการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นหากแยกไม่ออก วิธีที่ถูกต้องและควรกระทำคือ การไม่ใช้ยาปฏิชีวนะจนกว่าจะได้รับการตรวจร่างกาย และได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องแล้วเท่านั้นนะคะ

"โรคคอตีบ"

      "โรคคอตีบ" เป็นโรคที่มีอัตราตายสูงในผู้ป่วย 10 ราย จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งในปี 2552 
มีการระบาดของโรคในเด็ก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ปี 2555 ได้มีการระบาดอีกครั้งในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 20-50 ปี ที่มีระดับภูมิคุ้มกัน ไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรค...


      โรคคอตีบเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae ที่สร้างพิษ ทำให้เกิดการอักเสบมีเนื้อตาย เป็นแผ่นฝ้าเกิดขึ้นในลำคอและมีการตีบตันของทางเดินหายใจ สร้างพิษทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาทส่วนปลาย
      สามารถติดต่อทางการหายใจ ไอ จามรดกัน หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด อาจติดต่อโดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การดูดอม ของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก อาการของโรค ช่วงแรก จะมีไข้ต่ำ ๆ คล้ายหวัด ไอมีเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ต่อมาจะเริ่มมีแผ่นฝ้าสีขาวอมเทาในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ หายใจไม่ออก มีอันตรายถึงตายได้
   
      ดังนั้น ผู้ที่มีอายุ 20-50 ปี ควรไปรับการฉีดวัคซีนรวมโรคคอตีบ-บาดทะยัก ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านฟรี ... !!! เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรค

     ภายหลังได้รับวัคซีนแล้วหากมีอาการปวดมากให้ใช้น้ำเย็นประคบ และให้รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์ และหากมีไข้ต่ำๆ ให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ ข้อพับต่าง ๆ ควรเช็ดมาก ๆ เพื่อช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายและอาจให้ยารับประทานลดไข้ ตามคำแนะนำของแพทย์ หากอาการ ไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์นะคะ


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.thaihealth.or.th/

"5 วิธีล้างผัก....ลดสารฆ่าแมลง"



ภาพจาก  idreamofeden.com
ผักสดที่เราบริโภคอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่อาจมีสารฆ่าแมลงปนเปื้อนอยู่หลายชนิด โดยพบว่า ผักที่มีการปนเปื้อนมากที่สุด คือ กะเพรา รองลงมาคือ ถั่วฝักยาว, คะน้า ,ผักบุ้งจีน, กวางตุ้ง, มะเขือเปราะ ตามลำดับ  
และสารเคมีกำจัดแมลงที่พบการตกค้างในผักมากที่สุดคือ ยาฆ่าแมลงชนิด ไซเปอร์เมทริน  (กลุ่มไพรีทอยด์) และชนิดของสารเคมีที่ตกค้างในผักหลากชนิดมากที่สุด คือไซเปอร์เมทริน และคลอร์ไพริฟอส (กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต) จึงขอแนะนำ “5 วิธีล้างผัก....ลดสารฆ่าแมลง” ดังนี้
1.ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบ๊กกิ้งโซดา)  1 ช้อนโต๊ะ/น้ำอุ่น 20 ลิตร  แช่น้ำนาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารตกค้างได้ 80-95 %
2.เด็ดผักเป็นใบ  ใช้น้ำสะอาดไหลผ่านหลายๆครั้ง  ลดปริมาณสารตกค้างได้ 54-63 %
3.ใช้ด่างทับทิม  20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร  แช่น้ำนาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด  ลดปริมาณสารตกค้างได้ 35-43 %
4.ใช้น้ำส้มสายชู  1 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 4 ลิตร  แช่นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด  ลดปริมาณสารตกค้างได้ 29-38 %
5.ใช้เกลือป่น  1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารตกค้างได้ 27-38 %


และการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ท่านปลอดภัยจากสารพิษตกค้างได้



ที่มา